“สหกิจศึกษา” กับ “ฝึกงาน” แตกต่างกันอย่างไร?

ก่อนอื่นมาดูความหมายของคำทั้งสองคำนี้ก่อนว่าหมายถึงอะไร
ภาพจาก: hansern.com

       การฝึกงาน (Internship) คือ การที่นักศึกษาหาสถานที่ฝึกงานเอง ทางบริษัทที่รับนักศึกษาฝึกงาน ก็จะเป็นการฝึกงานทั่วไป เมื่อหมดช่วงฝึกงานแล้วก็ถือว่าจบสิ้นการฝึก
       โครงการสหกิจศึกษา (Cooperative Education) คือ ความร่วมมือระหว่าง บริษัท/ผู้ประกอบการ และ มหาวิทยาลัยที่มีร่วมกัน (MOU) โดยนักศึกษาที่เรียนในโครงการสหกิจศึกษาจะมีโอกาสได้ไปทำงานในบริษัทที่มีความตกลงร่วมกันเป็นเวลา 4 เดือน (1 ภาคเรียน)
       เมื่อรู้ความหมายของทั้งสองคำแล้ว คราวนี้เราลองมาดูความแตกต่างในด้านต่างๆ บ้างดีกว่า ว่าทั้งสองอย่างต่างกันด้านใดบ้าง โดยทางสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ได้มีการจัดทำตารางเปรียบเทียบประเด็นต่างๆ ของ การฝึกงานและสหกิจศึกษา ดังนี้

ประเด็นการเปรียบเทียบ การปฏิบัติสหกิจศึกษา การฝึกงาน
1.รูปแบบของการขอเข้าไปปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือฝึกงาน นักศึกษาต้องเขียน และยื่นใบสมัครต่อองค์กรผู้ใช้บัณฑิตในลักษณะเดียวกันกับการสมัครงาน และต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์ และการคัดเลือกจากองค์กรผู้ใช้บัณฑิต โดยส่วนใหญ่มักไม่มีการยื่นใบสมัครและสัมภาษณ์นักศึกษาแต่พิจารณาจากหนังสือ/จดหมายขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษาฝึกงานจากสถาบันอุดมศึกษา
2.สถานะของนักศึกษาในองค์กรผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษาจะเป็นเสมือนเจ้าหน้าที่หรือพนักงานปฏิบัติงานชั่วคราวในองค์กรผู้ใช้บัณฑิตในฐานะพนักงานเต็มเวลา นักศึกษาอยู่ในสถานะของนักศึกษาฝึกงาน
3.คุณสมบัติของนักศึกษา แต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยแต่ส่วนใหญ่นักศึกษาจะต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 ศึกษาอยู่ในระดับชั้นปี 3 หรือ 4 และต้องผ่านการพิจารณาคุณสมบัติอื่นๆ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยส่วนใหญ่ใช้หลักเกณฑ์การเป็นนักศึกษาที่ศึกษามาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของหลักสูตร
4.ค่าตอบแทน นักศึกษาสหกิจส่วนใหญ่จะได้รับสวัสดิการค่าจ้างหรือค่าตอบแทนอื่น ตามความเหมาะสมจากองค์กรผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษาอาจจะได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนตามความเหมาะสม
5.ลักษณะการทำงาน เน้นการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์จากการทำงานจริงเป็นหลัก หรือ Work-base learningหรือโครงงานพิเศษ (Project)ที่ใช้ความรู้ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของนักศึกษาและเป็นประโยชน์กับองค์กรผู้ใช้บัณฑิต ขึ้นอยู่กับองค์กรผู้ใช้บัณฑิต บางครั้งงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ตรงกับสาขาวิชาที่เรียน
6.ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานเต็มเวลา ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา หรือ 16 สัปดาห์ และอาจมากกว่า 1 ภาคการศึกษา (ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนด) ฝึกงานในภาคการศึกษาฤดูร้อน โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมงทำการหรือไม่น้อยกว่า 20 –25 วันทำการ (ขึ้นอยู่กับสถาบันอุดมศึกษาจะกำหนด)
7.การประสานงานระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับองค์กรผู้ใช้บัณฑิต มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างบุคลากรจากสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรผู้ใช้บัณฑิตอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่จะมีการประสานงานช่วงก่อนส่งนักศึกษาเข้าฝึกงานและหลังจบการฝึกงาน
8.การดูแลนักศึกษาระหว่างการปฏิบัติงาน องค์กรผู้ใช้บัณฑิตจัดให้มีหัวหน้างานหรือบุคลากรที่เหมาะสมทำหน้าที่พนักงานที่ปรึกษา (Job Supervisor) หรือพี่เลี้ยง (Mentor) ทำหน้าที่กำหนดงานให้นักศึกษาปฏิบัติดูแลให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักศึกษาตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติงาน องค์กรผู้ใช้บัณฑิตจัดให้มีหัวหน้างานเพื่อดูแลและสอนงาน
9.การส่งผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา นักศึกษาสหกิจจะต้องทำรายงานวิชาการจำนวน 1 เล่ม ในหัวข้อเนื้อหาที่องค์กรผู้ใช้บัณฑิตและอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาในสาขาวิชา/ภาควิชากำหนด จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน
10.การติดตามผลการปฏิบัติงาน อาจารย์นิเทศหรืออาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาในสาขา/ภาควิชาจะทำหน้าที่ดูแล ติดตามการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ รวมทั้งการนิเทศงานของนักศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง ระหว่างที่นักศึกษาปฏิบัติงาน ณ องค์กรผู้ใช้บัณฑิต คณะกรรมการดำเนินงานออกตรวจเยี่ยมนักศึกษาฝึกงานไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลาของการฝึกงาน
11.การประเมินผล ต้องผ่านการประเมินผลจากอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกับพนักงานที่ปรึกษา พิจารณาจากผลการประเมินงานขององค์กรผู้ใช้บัณฑิตและกรรมการดำเนินงานการฝึกงาน
12.การสรุปผลการปฏิบัติงาน เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานจะมีการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษา ผู้บริหารและผู้แทนองค์กรผู้ใช้บัณฑิต ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา เพื่อทราบถึงพัฒนาการและความสามารถในการนำเสนอและถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การจัดกิจกรรมเมื่อสิ้นสุดการฝึกงานขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้กำหนด

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา,
       https://www.isamare.net/news-social/ฝึกงาน-สหกิจ/