1. ตรงต่อเวลา และการเคารพผู้บังคับบัญชา
2. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ตั้งใจเรียนรู้งานให้มากที่สุด
3. แต่งกายชุดนักศึกษา กรณีใส่เสื้อช็อปต้องผ่านความเห็นชอบจากบริษัทก่อน
4. การลากิจ ลาป่วย ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของ สถานที่ฝึกงาน
5. ระมัดระวังในเรื่องการวางตัวและการใช้เครื่องมือสื่อสาร
6. ไม่ควรต่อรองเรื่องระยะเวลาการฝึกงานหรือ เรียกร้องอภิสิทธิ์ใด ๆ จากสถานที่ฝึกงาน
7. นักศึกษาควรมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงออกและกล้าตัดสินใจ
8. ให้ถือเสมือนว่า การฝึกงานก็คือการทำงาน และทำการ ฝึกงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ
9. การไปฝึกงานของนักศึกษา ถือว่าไปในนามตัวแทนของมหาวิทยาลัยและในนามของคณะฯ ต้องไม่กระทำการ ใด ๆ ที่จะทำให้เสื่อมเสียต่อส่วนรวม
10. ในระหว่างการฝึกงาน หากมีปัญหาเกี่ยวกับงานต้องการคำปรึกษาเชิงวิชาการ นักศึกษาควรติดต่อกลับมายังอาจารย์ประจำสาขาวิชา
11. หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างการฝึกงานให้ติดต่อ อาจารย์ที่ปรึกษาสาขาวิชาหรือสถาบัน
12. หลีกเลี่ยงการทะเลาวิวาทกับเพื่อนร่วมงาน หรือความสัมพันธ์ชู้สาวกับเพื่อนร่วมงาน/บุคลากรภายในสถานที่ฝึกงาน อันก่อให้เกิดปัญหารุนแรง
13.การดูแลทรัพยสินของตนเอง บริษัท และควรใช้ความระมัดระวังในการใช้งานทรัพย์สินบริษัท
14.หลีกเลี่ยงการขาดงานโดยไม่จำเป็น นอกจากจะทำให้เกิดภาพลบต่อนักศึกษายังรวมทั้งชื่อเสียงของสถาบันอีกด้วย
15.ควรดูแลความปลอดภัยของตนเอง หากมีเพื่อนควรเดินทางไป-กลับเป็นหมู่คณะ หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยลำพังโดยเฉพาะนักศึกษาหญิง
กำหนดระยะเวลาในการฝึกงาน
ห้ามหยุดการปฏิบัติฝึกงานเอง โดยไม่แจ้งสาขาวิชา หรือขาดความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและไม่สามารถอ้างเหตุว่าฝึกงานครบกำหนดแล้ว เนื่องจากเป็นการกำหนดจำนวนชั่วโมงขั้นต่ำ ในกรณีนี้นักศึกษาควรแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาฝึกงานตามสาขาวิชาของตนเอง
เอกสารประกอบการฝึกงาน
1. จดหมายยืนยันการฝึกงานและส่งตัวนักศึกษาเข้าฝึกงาน 1 ฉบับ
2. จดหมายตอบรับให้เข้าฝึกงาน 1 ฉบับ
3. กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ 1 ฉบับ
4. สมุดบันทึกการฝึกงาน 1 ฉบับ
5. ใบประเมินผลการฝึกงาน 1 ฉบับ (ยื่นให้แก่ผู้ดูแลการฝึกงาน วันรายงานตัว)
6. สมุดบันทึกลงเวลาปฏิบัติงาน 1ฉบับ (สถานที่ฝึกงาน)
การนิเทศฝึกงานนักศึกษา
ภายหลังจากที่นักศึกษาได้เข้าสู่สถานที่ฝึกงานและได้รับการยืนยันเรียบร้อยแล้ว คณะอาจารย์ผู้รับผิดชอบฝึกงานนักศึกษาจะทำการออกนิเทศตามสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อการเตรียมพร้อมของบุคลากรและผู้ดูแลการฝึกงานรวมทั้งตัวนักศึกษาเอง เพื่อประเมิน ลักษณะของสถานที่ฝึกงานและความเหมาะสมในการฝึกงานตามที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย พร้อมรวบรวมข้อมูลการประเมินความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษา/ผู้ปฏิบัติงาน
การประเมินผลการฝึกงาน
จะมีการประเมินผล โดยหัวหน้าหน่วยงานของสถานประกอบการ ที่รับนักศึกษาเข้าฝึกงานตาม แบบประเมินผลการฝึกงาน สำหรับสถานที่ฝึกงาน (อยู่ท้ายเล่มของสมุดบันทึกการฝึกงาน) เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการฝึกงานครบถ้วนทุกขั้นตอน ซึ่งผลการประเมินจะปรากฏเป็นเกรด G (ดี) P (พอใช้) หรือ U (ตก) ซึ่งนักศึกษาที่ผ่านการฝึกงานจะต้องได้รับการประเมินผลเป็น G หรือ P จึงจะถือว่าสอบผ่านการฝึกงาน